ความรู้สรรพคุณกัญชาไทยกัญชาถูกกฎหมายหรือยัง
สรรพคุณกัญชาไทย กระทรวงสาธารณสุข เพิ่งปลดล็อก “ใบกัญชา-กัญชง” พ้นจากบัญชียาเสพติด โดยเหตุผลที่ได้รับการปลดล็อก เนื่องจากว่าสรรพคุณของกัญชาให้ประโยชน์อย่างมากมาย และในอนาคตจะทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์ในทางการแพทย์นำไปศึกษาถึงสรรพคุณของกัญชาและกระท่อมในการรักษาอาการเจ็บป่วย และเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้นต่อไป
“กัญชา” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis sativa เป็นพืชล้มลุก มีใบเป็นแฉก 5-8 แฉก ลำต้นสูง 3-5 เมตร กัญชามีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือ สาร THC (Tetrahydrocannabinol) มีฤทธิ์ทำให้ติดและเมา และ CBD (Cannabidiol) สารต้านฤทธิ์เมา ไม่มีผลต่อจิตประสาท ช่วยลดผลข้างเคียงจากจิตและประสาทจาก THC มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
กัญชา มี 3 สายพันธุ์ย่อย ดังนี้
– C. sativa spp sativa แถบบริเวณเส้นศูนย์สูตร โคลัมเบีย, เม็กซิโก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย
– C. sativa spp indica ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, โมร็อกโก และทิเบต
– C. sativa spp ruderralis อากาศหนาวเย็น ตอนกลางของรัสเซีย
ในกัญชามีสารสำคัญ คือ Tetrahydro cannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การใช้ใบกัญชาในการประกอบอาหาร โดยมีข้อกำหนดให้ใช้ 1-2 ใบต่อเมนู เพราะถ้ามีการบริโภคจำนวนมากจะส่งผลทำให้ร่างกายต้องการสารดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การเสพติดสารดังกล่าว นอกจากนี้ 80% ของเส้นใยจากกัญชา เป็นเส้นใยเซลลูโลสที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย สามารถนำมาทำกระดาษสังเคราะห์ได้ดีกว่าไม้ยืนต้นทั่วไป
ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากกัญชาในการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นใช้ในการต้านโรคมะเร็ง ต้านการอาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร แก้ปวด เช่น สาร THC มีฤทธิ์ต้านมะเร็งสมองที่เรียกว่า Glioblastoma, สาร CBD นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยา Nabilone ช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการสั่นน้อยลง และช่วยให้ขยับตัวได้ดียิ่งขึ้น
แต่! อย่างไรก็ตามยังอาจพบสารปนเปื้อนที่จะทำให้เกิดอันตรายอย่างไม่คาดคิด เนื่องจากกัญชามีความสามารถในการดูดซับโลหะหนัก ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ากัญชาที่นำมาใช้นั้นอาจจะมีการปนเปื้อนเกิดขึ้น โดยเฉพาะโลหะหนักจำพวกตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd), สารหนู (As) และปรอท (Hg) ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้จะอยู่ในส่วนของใบและดอกกัญชาที่เป็นบริเวณที่พบสาร THC และ CBD หากร่างกายมนุษย์ได้รับเข้าไปปริมาณมาก ก็จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจนนำไปสู่การเกิดมะเร็งและปัญหาระบบประสาทในที่สุด
สรรพคุณกัญชาไทย สารสกัด อาการที่รักษาได้
- รักษาภาวะเบื่ออาหาร กัญชาใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร จะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง
- การป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด
- รักษาโรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- รักษาภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
- บรรเทาหอบหืด ยาแก้หอบหืดทุกตัวมีข้อเสียคือมีข้อจำกัด ทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียง เนื่องจากกัญชาขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม
- การใช้กัญชาในการรักษาต้อหิน คือ การรักษาตาต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ คนตาบอดในสหรัฐ คนอเมริกาเกือบล้านที่ป่วยด้วยต้อหินที่รักษาได้ด้วยกัญชา กัญชาทำให้ความดัน ภายในลูกนัยน์ตาลดลงได้ดีหลายชั่วโมงในคนปกติและในคนที่ความดันลูกนัยน์ตาสูงจากต้อหิน การให้กัญชาทางปากหรือทางหลอดเลือดดำให้ผลเหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับชนิดอนุพันธ์กัญชามากกว่า จะเกิดจากฤทธิ์กล่อมประสาทของกัญชา กัญชาไม่ได้รักษาโรคขาด แต่ช่วยยับยั้งการบอดไม่ให้เป็นมากขึ้น เมื่อยาทั่วไปไม่อาจช่วยได้ และการผ่าตัดเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป
- ลดอาการปวด สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ THC สามารถช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้สามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น และช่วยลดอาการปวดข้อ แต่สำหรับอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็งนั้นยังไม่มีข้อสรุปทางคลินิกที่ชัดเจน
- รักษาโรคพาร์กินสัน แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- รักษาโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- รักษาโรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง) แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- รักษาโรคริดสีดวงทวาร เมื่อทายาริดสีดวงและโรคผิวหนังเป็นประจำ พบว่าอาการอักเสบและอาการปวดลดลง หัวริดสีดวงที่โผล่ออกมานอกหรืออยู่รอบๆรูทวารฝ่อลง
- รักษามะเร็ง สารสกัดจากกัญชาอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดและยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกมะเร็งบางอย่างในหนูทดลองได้ หลังจากนั้น เมื่อมีการวิจัยเพิ่มขึ้น พบว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้จริง โดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดของก้อนมะเร็ง (Angiogenesis) และลดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ (Metastasis) ในโรคมะเร็งหลายชนิด ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรแกรมการตายของเซลล์มะเร็ง (Program cell death) ผ่านกระบวนการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของการรักษาโรคมะเร็งด้วยสารสกัดกัญชา จึงต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดแต่ละประเด็นต่อไป
- คลายความวิตกกังวล จากประวัติการใช้กัญชาเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายในอดีตทำให้มีความเป็นไปได้ที่สารกลุ่มแคนนาบินอลน่าจะมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามพบว่ากลไกการออกฤทธิ์นั้นซับซ้อนและยังไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน จากรายงานทางคลินิกพบว่าการใช้สาร Fatty acid amide hydrolase inhibitors (FAAH inhibitors) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Endocannabinoids มีความสามารถในการลดอาการวิตกกังวลได้ ปัจจุบันสารหลายชนิดในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบทางคลินิก
อยากปลูกกัญชาต้องทำอย่างไร กัญชาน่ารู้
การปลูกแนะนำเป็นสายพันธุ์ไทยดูแลง่าย เหมาะกับอากาศบ้านเรา เช่น พันธุ์หางกระรอกหาง่าย ราคาค่อนข้างถูก เหมาะกับมือใหม่หัดปลูก เน้นใช้ในครัวเรือน นำใบมาประกอบอาหาร กัญชาน่ารู้ เกี่ยวกับการปลูก
เริ่มเพาะเมล็ด
- นำเมล็ดมา ห่อด้วยทิชชู่ พรมน้ำให้ชุ่ม
- ใส่กระปุก ปิดฝา เก็บไว้ในที่มืดไม่ให้โดนแสงแดด
- 2-3 วัน ให้เช็กว่ามีรากงอกรึยัง ถ้ามีเป็นอันใช้ได้
เพาะต้นอ่อน
- ใช้ พีทมอส เพราะสามารถเติบโตได้ดี เมล็ดมีโอกาสโตได้เยอะ
- บางคนจะผสม พีทมอส เวอร์มิคูลไลท์ เพอร์ไลท์ ส่วนมากจะเป็น 70% 10% 10%
- นำเมล็ดฝังในดินไม่ต้องลึกมาก
- ปลูกในที่ร่มสัก 2-3 วัน พรมน้ำให้ชุ่ม (อย่าแฉะ)
- พอวันที่ 3 ให้เอาออกไปรับแดด
- ประมาณ 10 วันเตรียมย้ายลงกระถาง
ปลูกต้นกัญชาลงกระถาง
- เริ่มจากกระถางเล็กก่อน เช่น 6 นิ้ว
- เตรียมดิน ง่ายสุดคือ หน้าดิน ปุ๋ยหมัก 1 ต่อ 1 ผสมกัน
- หรือหาซื้อดินสำหรับปลูกกัญชามาใช้
- นำต้นมาใส่ อย่ารดน้ำมากเกินไป
ประโยชน์ของสาร THC
- ลดการคลื่นไส้จากยาเคมีบำบัด
- ลดอาการปวดเรื้อรัง
- ลดอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยบางกลุ่ม (ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์)
- ลดการเกร็งในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทบางชนิด ได้แก่ Multiple sclerosis
โทษของสาร THC
- ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
- เมาหลอนประสาท
- เสพติดและเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย
- เกิดภาวะเป็นพิษเมื่อได้รับเป็นปริมาณสูง
ประโยชน์ของสาร CBD
ประโยชน์ของสาร CBD ที่มีงานวิจัยรองรับ คือ ใช้รักษาโรคลมชักในเด็กเฉพาะกลุ่มอาการ Lennox-Gastaut และ Dravet
ส่วนประโยชน์ต่อร่างกายและสมองที่มีแนวโน้มจะเป็นไปได้ แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย มีดังนี้
- บรรเทาอาการวิตกกังวล
- ลดความเสี่ยงสมองฝ่อ
- รักษาต้อหินที่ดวงตา
- บรรเทาอาการหอบหืด
- ลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
- รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- ช่วยควบคุมอาการลมชักบางชนิด
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
ข้อดีของกัญชา
- หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
- ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้
6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา