รู้หรือไม่ กัญชาคืออะไร ถูกควบคุมกฎหมายในไทยอย่างไร
รู้หรือไม่ กัญชาถูกจัดให้เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ กัญชาจึงเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้านกัญชาเคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม รู้หรือไม่ กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และต่อมาประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย. 2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (Tetrahydrocannabinol – THC, ∆9-THC) เกิน 0.2 % ที่ยังต้องถูกจัดในหมวดหมู่ยาเสพติดให้โทษ แต่การสูบกัญชาในที่สาธารณะ และรบกวนสิทธิผู้อื่น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท และการสูบกัญชาในที่สาธารณะ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง เช่น บุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมอยู่
เรื่องน่ารู้ : รู้หรือไม่ กัญชามีประโยชนือย่างไร
กัญชา คือพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน โดยใบกัญชาสดจะอุดมไปด้วยสารอาหารทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด
กลุ่มผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชา
- เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต หรือเสพติดยาที่เคยมีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง
การประยุกต์ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณ
- กัญชาทางการแพทย์
- กัญชาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
- อาหารเสริมกัญชา
ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการใช้กัญชา
- ผลกระทบระยะสั้น
- ตาแดง ปากแห้ง และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติ
- ความรู้สึกเชื่องช้ากระบวนการคิดและการแก้ปัญหาบกพร่อง
- หลงๆ ลืมๆ ความจำบกพร่อง
- สมาธิสั้น
- การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
- อารมณ์แปรปรวน
ผลกระทบระยะยาว
- ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความซึมเศร้าด้อยค่าตนเอง
- สุขภาพจิตแย่ลง เกิดความเครียด วิตกกังวล และหวาดระแวงจาก
- การการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ผิดเพี้ยน
- สุขภาพร่างกายแย่ลง ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ และเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
- เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
- มีมุมมองต่อสังคมในด้านลบ และหวาดระแวง
- ก่อเกิดปัญหาทางสังคมและอาชญากรรม
การประยุกต์ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณรู้หรือไม่ กัญชาช่วยรักษา
ให้โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ “ปลอดกัญชา และกัญชง”
“งดจำหน่ายและห้ามโฆษณา” อาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของกัญชาหรือกัญชงภายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร รู้หรือไม่ ดอกกัญชาไทย
สรรพคุณจากใบกัญชาสด
เมื่อพิจารณาจากมุมมองขององค์ประกอบทางชีวเคมีเพียงอย่างเดียว ใบกัญชาดิบเป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารที่ดีเยี่ยม ประกอบไปด้วยสารประกอบสารต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ
รู้หรือไม่ ยารักษาโรคจากกัญชา
- วิตามินซี (Vitamin C) ช่วยสร้างและสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัด และหากออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำร่วมด้วย จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง50%
- วิตามินเค (Vitamin K) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
ธาตุเหล็ก (Iron) ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างในร่างกาย
- แคลเซียม (Calcium) มีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายเกือบทุกส่วน และที่สำคัญยังมีหน้าที่สร้างกระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย
- โพแทสเซียม (Potassium) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
- สังกะสี (Zinc) เป็นสารที่สนับสนุนสังเคราะห์ DNA หรือโปรตีน เสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบเผาผลาญ การซ่อมแซมบาดแผลหรือเนื้อเยื่อที่อักเสบ สนับสนุนพัฒนาและการเจริญเติบโตของเซลล์ การรับรสและกลิ่น และยังสามารถป้องกันการเกิดโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) โรคสมาธิสั้น และอาการเสื่อมและอักเสบในร่างกาย เช่น สิวเห่อเรื้อรัง จอประสาทตาเสื่อม
- โฟเลตหรือวิตามินบี 9 (Folic Acid / Vitamin B9) มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA)
สารแคโรทีนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านมะเร็ง
สารเซเลเนียม ป้องกันและชะลอความชรา
สารลิโมนีนที่พบในเลมอนช่วยต้านแบคทีเรีย
สารแอนโทไซยานินที่พบในผลไม้สีแดง ช่วยป้องกันการตกตะกอนของเกล็ดเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ
สารเทอร์ปีนซึ่งเป็นสารให้กลิ่นเฉพาะช่วยให้ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด
สารเบต้าแคโรทีนที่มักพบในแครอทช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
ข้อดีของกัญชา
- หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
- ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้
6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา