ความรู้เรื่องเมล็ดกัญชา ปลูกกัญชา กัญชง รู้จักมากแค่ไหน
ความรู้เรื่องเมล็ดกัญชา สายพันธุ์กัญชาหลักๆ มีอยู่ทั้งสิ้น 3 สายพันธุ์ คือ
- ซาติวา (Sativa) ที่อยู่บริเวณประเทศเรา จะมีลักษณะใบเรียวยาวบาง สีเขียวอ่อน ต้นมีความสูงมาก โป่รง กิ่งและก้านยาว เพราะว่าภูมิอากาศบ้านเราร้อนต้องพยายามปรับตัวให้อยู่ในอากาศที่ร้อนให้ได้ เพื่อจะได้ผลิตผลผลิตออกมา ส่วนใหญ่สารที่มีในสายพันธุ์นี้คือ THC
- อินดิกา (Indica) มีลักษณะใบที่หนา ต้นมีความเตี้ยและป้อม เกิดในพื้นที่ที่สูงกว่าประเทศไทยขึ้นไปเล็กน้อย อากาศที่เย็นขึ้นมานิดหน่อย สารในสายพันธุ์นี้คือ THC, CBD
- รูเดอราลิส (Ruderalis) สายพันธุ์นี้เป็นกัญชาป่า
กัญชา 3 สายพันธุ์นี้ สามารถผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ได้ ในตอนนั้นผมศึกษาข้อมูลสายพันธุ์กัญชาจากเว็บไซต์ อย่างเช่น สายพันธุ์ บลูโอจี (Blue OG) เป็นสายพันธุ์ที่สายนันทนาการนิยม ปรากฏว่าตั้งต้นมาจากสายพันธุ์ไทย สิ่งที่ผมเห็นคือของจากประเทศเราที่โดนเขาเอาไปทำ น่าจะตั้งแต่ที่สายพันธุ์ ไทยสติก (Thai stick) กำลังโด่งดัง ในการผสมสายพันธุ์นั้นถ้าเราเอา ซันติวา กับ อินดิกา ผสมกัน จะเรียกว่า สายพันธุ์ ไฮบริด แต่ถ้าเอา รูเดอราลิส เข้ามาผสมด้วยก็จะเป็นอีกแบบหนึ่งถ้า ซาติวา กับ อินดิกา เฉยๆ จะเรียก โฟโต้ พีเรียด (Photo–period) โฟโต้ที่แปลว่า แสง แสดงว่าพวกนี้อ่อนไหวง่ายกับแสง จะออกดอกตามชั่วโมงแสง ถ้าแสงชั่วโมงเยอะก็จะเป็นใบอย่างเดียว ถ้าลดชั่วโมงแสงลงได้ มันก็จะออกดอก สามารถชำกิ่งได้ อายุการเก็บเกี่ยวของสายพันธุ์นี้ ตั้งแต่ 5-9 เดือน ขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสง
การพัฒนาสายพันธุ์ทำอย่างไร
จากที่กล่าวว่า สามารถผสมสายพันธุ์ได้ ก็เพราะว่ากัญชา ก็เหมือนมนุษย์ มีผู้หญิง ผู้ชาย หรือเรียกกันว่าต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และดูอย่างไรว่าเป็นเพศไหน ถ้าเป็นเพศเมียจะมีดอกแหลมๆ เกสรตัวเมียสองเส้น ช่วงเวลาที่จะแสดงเพศจะออกตามปล้อง ก่อนที่จะเป็นช่อใหญ่ ส่วนตัวผู้จะเป็นไข่กลมๆ เมื่อตัวผู้ที่โตแล้ว จะมีดอกใหญ่ๆ ขึ้นเป็นช่อ เมื่อแสดงเพศแล้ว รู้ว่าเป็นเพศผู้ให้ตัดทิ้ง ทำไมต้องตัดทิ้ง เพราะถ้าได้เมล็ด เมล็ดนั้นอาจทำให้สายพันธุ์นั้นเปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะมีเพศผู้และเพศเมียแล้ว มีเพศกะเทย (Banana) อีกด้วย จะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียโผล่ออกมา ถ้าเอาไปผสมก็จะลดสารลงเหมือนกัน กัญชาแต่ละต้นแต่ละสายพันธุ์กินน้ำไม่เท่ากัน กินปุ๋ยไม่เท่ากัน มีสีดอกที่ไม่เหมือนกัน ในห้องวิจัย ปลูกครั้งแรก 47 สายพันธุ์ 82 ต้น พื้นที่ปลูก 6 x 7 ต้องเดินตรวจสอบทุกวัน ต้องสังเกตมากกว่าปกติ เพราะเราไม่มีความรู้ในการปลูกความแตกต่างของกัญชา และกัญชง
ต่างกันเพียงแค่ปริมาณสาร THC กัญชง ไม่สามารถดูที่ใบได้ ใบจะบอกแค่ว่าเป็น ซาติกา หรืออินดิกาเท่านั้น แต่สิ่งที่กฎหมายกำหนด คือ ถ้า THC ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชง ถ้าเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชา
กัญชงแบบไหนบ้างที่สามารถปลูกได้ ในประเทศมี 3 ประเภท คือ กัญชงที่ปลูกไว้เอาช่อดอก CBD ต่อมาคือกัญชงที่จะเอาเมล็ดมาบีบเอาน้ำมัน สุดท้าย ประเภทไฟเบอร์ ใช้เอาใบกิ่งก้าน อย. บอกว่า ห้ามปลูกกัญชงกับกัญชา ในรัศมี 10 กิโลเมตร เพราะว่า แบบที่เอาเมล็ดต้องมีตัวผู้ แบบที่เอาเส้นใยเขาก็ไม่ได้ดูตัวผู้ ตัวเมีย เพราะมันมีตัวผู้แน่นอน และขนาดเกสร ที่ขนาด 24 ไมครอน ของตัวผู้ มันจะปลิวไปไกลได้ประมาณ 10 กิโลเมตร
การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
ถ้าดูที่ไตรโคม ต้องเป็นสีขาวขุ่นและมีสีเหลืองอำพัน 20 เปอร์เซ็นต์ วิธีดูนี้เฉพาะพันธุ์ที่จะเอา THC
ผมใช้กล้องส่องพระในการดูไตรโคมว่าเก็บได้หรือยัง ต้องตรวจสอบทีละต้น ไม่สามารถดูเป็นแปลงได้ ก็สามารถดูได้ที่เกสรก็ได้ เกสรต้องแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลือง ดูที่ไครโตม ไม่ได้สังเกตที่ใบร่วงหรือไม่ พอตัดต้นเสร็จเอาใบใหญ่ออกก่อน เพราะว่าตอนทำแห้งจะคายน้ำออกมากว่าดอกจะแห้ง ตัดใบใหญ่ออกและนำไปขาย แล้วค่อยนำดอกเอาไปแขวนไว้ให้แห้ง แขวนที่อุณหภูมิ 20 องศา ห้องมืด มีอากาศถ่ายเท อาจจะมีการใช้พัดลมเป่าช่วยเพื่อให้มันแห้งได้ทุกดอกทุกช่อ นี่คือ การทำแห้ง
การปลูกกัญชง อย. บอกว่า สามารถเลือกปลูกได้ 6 แบบ คือ
- ปลูกเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ
- ปลูกเพื่อตามประเพณี
- ปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์
- ปลูกเพื่อการแพทย์
- ปลูกเพื่อการศึกษา
- ปลูกเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์รับรอง
ไม่ว่าจะเลือกปลูกแบบไหน ต้องมีแหล่งค้าขายที่ชัดเจน ให้ถูกต้อง ที่ อย. ออกกฎหมายนี้มาเพราะว่าถ้าล้นตลาด มันสามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้ แต่ถ้าเราสามารถบอกได้ว่ามีคนซื้อเราแน่นอน ก็สามารถปลูกได้ สรุปแล้วกัญชงถ้าจะปลูกก็ต้องขออนุญาตเหมือนกันกับกัญชา แต่ขอได้ง่ายกว่า ไม่ต้องมี CCTV ไม่ต้องมี Finger scan แต่ต้องมีรั้วรอบให้ปลอดภัย
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
ข้อดีของกัญชา
- หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
- ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้
6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา