กัญชาน่ารู้ คนดูน่ารัก เรื่องพืชกัญชามีหลายส่วน รู้ไว้ไม่เสียหาย
กัญชาน่ารู้ พืชกัญชา เป็นพืชให้ดอกอยู่ในตระกูล Cannabaceae ต้นกำเนิดอยู่แถบเอเชียกลาง และกระจายปลูกใน หลายๆ ส่วนของโลก กัญชา เรียกกันโดยทั่วไปว่า cannabis, Marijuana, Ganja หรือบางครั้งก็เรียกว่า Indian Hemp กัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. indica กัญชา เป็นพืชที่มีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย แยกกัน (dioecious plant) พืชกัญชามีสารสาคัญคือ สารแคนนาบินอยด์(cannabinoids) มากกว่า 100 ตัว โดย มีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC) เป็นสารส าคัญ ซึ่งให้ผลที่ท าให้เกิดการกระตุ้น ประสาท ปริมาณสาร THC มีมากหรือน้อยและผลการกระตุ้นประสาทของพืชกัญชาขึ้นกับสภาพแวดล้อมของพื้น ทีที่ปลูก สายพันธุ์ วิธีการปลูกและส่วนของต้นกัญชาที่นามาใช้ ทั้งนี้ส่วนของต้นกัญชาที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด คือ ช่อดอก (flower heads) และใบ (leaves) กัญชาน่ารู้ เรื่องสายพันธุ์
กัญชงกัญกัญชาต่างกันอย่างไร
ความแตกต่าง มองดูอาจจะไม่รู้เลยว่าต้นไหนคือกัญชาต้นไหนคือกัญชง
- กัญชากับกัญชง เป็นพืชชนิดเดียวกัน แต่จำแนกเป็นต่างชนิดย่อย
- ลักษณะภายนอก ใบกัญชงจะแคบเรียวกว่า ใบสีเขียวอ่อนกว่า ต้นสูงเร็วกว่า และแตกกิ่งก้านน้อยกว่า ช่อดอกมียางน้อยกว่า ทั้งนี้กัญชงได้รับการพัฒนาให้เป็นพืชทำเส้นใย จึงมีเปลือกเหนียว ลอกง่ายให้เส้นใยยาว มีคุณภาพสูง ในขณะที่กัญชาเป็นพืชสำหรับใช้สรรพคุณทางยาจึงมีเปลือกไม่เหนียว ลอกยาก เส้นใยมีคุณภาพต่ำกว่า
- นอกจากนี้กัญชงยังมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คือ THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) น้อยกว่ากัญชาอีกด้วย
กัญชาน่ารู้ สารสกัดและกลไกการออกฤทธิ์ของสารที่ได้จากกัญชา
- สาร THC ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท ส่งผลเฉียบพลันให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและมีความรู้สึกสนุก แต่มีอาการข้างเคียงด้านลบต่อจิตประสาท ได้แก่ กระวนกระวาย ซึมเศร้า มีความบกพร่องในสมาธิ ความจำ และการเรียนรู้ ตลอดจนการทำงานของระบบเคลื่อนไหว การพูดมีผลต่อการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ในแง่ดี สารตัวนี้ช่วยต้านอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดได้ดีกว่ายาแก้คลื่นไส้ กัญชาน่ารู้ กัญชงกับกัญชา
- สาร CBD มีฤทธิ์สำคัญ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านการชัก ต้านการอาเจียน ต้านโรคจิตวิตกกังวล ซึมเศร้า กระตุ้นความอยากอาหาร แก้ปวด กำจัดความกระวนกระวาย ทำให้นอนหลับ
- สาร CBN มีผลต่อความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม
- สารไพนีน ช่วยลดความจำเสื่อมระยะสั้นที่เกิดจาก THC โดยยับยั้งการเผาผลาญเอนไซน์ของแอซีติลคอลีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส อย่างไรก็ตามสารไพนีนตัวเดียวอาจจะอ่อนเกินไป จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป
ปัจจุบันในประเทศไทยอยู่ระหว่างการศึกษาทดลองนำสาร THC และสาร CBD ในสัตว์พบว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งหลายชนิดโดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดการแพร่กระจาย รวมทั้งมีหลักฐานอัตราการเกิดใหม่ของมะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลองได้ จึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดต่อไป
ทั้งนี้การใช้กัญชาช่วยลดผลข้างเคียงจากการได้รับเคมีบำบัด ไม่ว่าจะเป็นลดการคลื่นไส้ อาเจียน ลดการปวด ลดความเครียด เพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยได้
อยากปลูกกัญชาต้องทำอย่างไร กัญชาน่ารู้
การปลูกแนะนำเป็นสายพันธุ์ไทยดูแลง่าย เหมาะกับอากาศบ้านเรา เช่น พันธุ์หางกระรอกหาง่าย ราคาค่อนข้างถูก เหมาะกับมือใหม่หัดปลูก เน้นใช้ในครัวเรือน นำใบมาประกอบอาหาร กัญชาน่ารู้ เกี่ยวกับการปลูก
เริ่มเพาะเมล็ด
- นำเมล็ดมา ห่อด้วยทิชชู่ พรมน้ำให้ชุ่ม
- ใส่กระปุก ปิดฝา เก็บไว้ในที่มืดไม่ให้โดนแสงแดด
- 2-3 วัน ให้เช็กว่ามีรากงอกรึยัง ถ้ามีเป็นอันใช้ได้
เพาะต้นอ่อน
- ใช้ พีทมอส เพราะสามารถเติบโตได้ดี เมล็ดมีโอกาสโตได้เยอะ
- บางคนจะผสม พีทมอส เวอร์มิคูลไลท์ เพอร์ไลท์ ส่วนมากจะเป็น 70% 10% 10%
- นำเมล็ดฝังในดินไม่ต้องลึกมาก
- ปลูกในที่ร่มสัก 2-3 วัน พรมน้ำให้ชุ่ม (อย่าแฉะ)
- พอวันที่ 3 ให้เอาออกไปรับแดด
- ประมาณ 10 วันเตรียมย้ายลงกระถาง
ปลูกต้นกัญชาลงกระถาง
- เริ่มจากกระถางเล็กก่อน เช่น 6 นิ้ว
- เตรียมดิน ง่ายสุดคือ หน้าดิน ปุ๋ยหมัก 1 ต่อ 1 ผสมกัน
- หรือหาซื้อดินสำหรับปลูกกัญชามาใช้
- นำต้นมาใส่ อย่ารดน้ำมากเกินไป
ประโยชน์ของสาร THC
- ลดการคลื่นไส้จากยาเคมีบำบัด
- ลดอาการปวดเรื้อรัง
- ลดอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยบางกลุ่ม (ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์)
- ลดการเกร็งในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทบางชนิด ได้แก่ Multiple sclerosis
โทษของสาร THC
- ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
- เมาหลอนประสาท
- เสพติดและเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย
- เกิดภาวะเป็นพิษเมื่อได้รับเป็นปริมาณสูง
ประโยชน์ของสาร CBD
ประโยชน์ของสาร CBD ที่มีงานวิจัยรองรับ คือ ใช้รักษาโรคลมชักในเด็กเฉพาะกลุ่มอาการ Lennox-Gastaut และ Dravet
ส่วนประโยชน์ต่อร่างกายและสมองที่มีแนวโน้มจะเป็นไปได้ แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย มีดังนี้
- บรรเทาอาการวิตกกังวล
- ลดความเสี่ยงสมองฝ่อ
- รักษาต้อหินที่ดวงตา
- บรรเทาอาการหอบหืด
- ลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
- รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- ช่วยควบคุมอาการลมชักบางชนิด
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
ข้อดีของกัญชา
- หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
- ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้
6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา